เห็นลูกพี่กระโดดขึ้นไปอยู่บนตู้เย็น น้องหมาตัวนี้ขอทำตามกับเขาบ้าง…

แกจะทำตามลูกพี่ไม่ได้นะ !! เห็นน้องแมวกระโดดขึ้นไปบนตู้เย็น เจ้าหมาตัวนี้อยากทำตาม เลยกระโดดไปอยู่กับแมวบนนั้นด้วย

เห็นลูกพี่กระโดดขึ้นไปอยู่บนตู้เย็น

ข่าว เฟซบุ๊ก จิรเดช แสงเงิน เผยโมเมนต์ฮา ๆ ของหมากับแมวคู่หนึ่ง หลังจากที่เจ้าเหมียวขึ้นไปอยู่ข้างบนตู้เย็น หมาตัวนี้นึกว่าตัวเองเป็นแมว เลยอยากทำได้เหมือนเขาบ้าง ขึ้นไปเล่นอยู่บนนั้นตาม ข่าวสัตว์เลี้ยง กลายเป็นภาพที่เรียกเสียงหัวเราะและเป็นไวรัลดังบนโลกออนไลน์ในตอนนี้

“เหาไม้” ในถ้ำที่บราซิล สืบพันธุ์แบบตัวผู้-ตัวเมีย สลับบทบาททางเพศกัน

เหาไม้ (barklice) เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่กินเศษไม้ผุพังและซากพืชเน่าเปื่อย แต่เหาไม้ชนิดมีปีกที่อาศัยอยู่ในถ้ำของประเทศบราซิล (Neotrogla) มีพฤติกรรมขณะสืบพันธุ์ที่แปลกประหลาด

“เหาไม้” ในถ้ำที่บราซิล สืบพันธุ์แบบตัวผู้-ตัวเมีย สลับบทบาททางเพศกัน

สัตว์เลี้ยง โดยตัวเมียเป็นฝ่ายใช้กล้ามเนื้อที่ยื่นออกมาคล้ายอวัยวะเพศชาย เป็นเหมือนกับหลอดดูดน้ำเชื้อออกจากช่องเปิดคล้ายช่องคลอดของตัวผู้ทีมนักกีฏวิทยานานาชาติจากญี่ปุ่น บราซิล และสวิตเซอร์แลนด์ ตีพิมพ์ข้อมูลการค้นพบข้างต้นในวารสาร Royal Society Open Science โดยระบุว่าได้ศึกษาและสร้างแบบจำลองสามมิติของอวัยวะสืบพันธุ์ขณะที่แมลงชนิดนี้จับคู่ผสมพันธุ์แบบประหลาด เพื่อให้ทราบถึงกลไกเบื้องหลังการสืบพันธุ์แบบดังกล่าว รวมทั้งสาเหตุที่ทำให้มันมีวิวัฒนาการจนเกิดการสลับบทบาททางเพศขึ้น ผลการตรวจสอบด้วยอุปกรณ์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ขนาดเล็ก ชี้ว่าอวัยวะเพศที่ยื่นออกมาของเหาไม้ตัวเมียนั้น แท้จริงแล้วเป็นองคชาติเทียมซึ่งเรียกว่า “ไจโนโซม” (gynosome) โดยขณะที่ผสมพันธุ์กันตัวเมียจะใช้อวัยวะคล้ายตะขอที่ฐานของไจโนโซมเกาะยึดตัวผู้เอาไว้ กล้ามเนื้อชุดหนึ่งจะช่วยให้ไจโนโซมที่พับอยู่คลี่ขยายเข้าไปภายใน “ช่องคลอด” ของตัวผู้ จากนั้นมันจะพองตัวขึ้นและทำหน้าที่เหมือนหลอดดูด นำเอาสเปิร์มเข้าสู่ช่องเก็บภายในร่างกายของตัวเมียกระบวนการสืบพันธุ์ทั้งหมดนี้อาจใช้เวลาได้นานสูงสุดถึง 70 ชั่วโมง โดยพฤติกรรมทางเพศดังกล่าวสะท้อนถึงการแก่งแย่งตัวผู้ เพื่อให้ตนเองได้มีโอกาสถ่ายทอดพันธุกรรมไปสู่ลูกหลาน ซึ่งการแข่งขันนี้มีความดุเดือดรุนแรงเป็นพิเศษในหมู่เหาไม้ตัวเมียด้วยกันทีมผู้วิจัยยังพบว่า เหาไม้ตัวเมียได้รับสารอาหารในน้ำเลี้ยงสเปิร์มที่ได้มาจากตัวผู้ด้วย ซึ่งสารอาหารที่ได้จากการสืบพันธุ์นี้ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่รอดได้ในถ้ำที่ไม่ค่อยมีแหล่งอาหารมากนักศาสตราจารย์คาซึโนริ โยชิซาวะ จากมหาวิทยาลัยฮอกไกโดของญี่ปุ่น หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยบอกว่า “สาเหตุเรื่องการแสวงหาอาหารและโอกาสสืบพันธุ์ น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเชิงวิวัฒนาการที่ผลักดันให้ตัวเมียพัฒนาองคชาติเทียมและช่องเก็บน้ำเชื้อที่มีความจุสูงขึ้นมา ส่งผลให้เกิดการสลับบทบาททางเพศระหว่างตัวผู้และตัวเมียในที่สุด”

แนะนำข่าวสัตว์เลี้ยง อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ต้นตอ! โรคอุบัติใหม่ เชื้อร้ายติดจากสัตว์มาสู่คน

ต้นตอ! โรคอุบัติใหม่ เชื้อร้ายติดจากสัตว์มาสู่คน

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศโลกกำลังกลายเป็นตัวเร่งก่อโรคอุบัติใหม่ให้เกิดการติดเชื้อแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างรุนแรง สามารถก้าวกระโดดจากสัตว์มาสู่คนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

สัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นโรคซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009 และโควิด-19 ต่างสร้างความโกลาหลส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ อันมีปัจจัยจาก “ความชุกชุมของสัตว์พาหะนำโรคบวกกับความสะดวกทางคมนาคม และผู้คนขาดการป้องกัน” ทำให้เปิดช่องโอกาสสัมผัสโรคได้มากขึ้น ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า สำหรับ เชื้อไวรัสจากสัตว์ติดต่อสู่คนได้นี้มาจาก “มนุษย์ทำลายระบบนิเวศธรรมชาติ” รุกล้ำพื้นที่ที่อยู่อาศัยสัตว์ป่าปรับเปลี่ยนให้เป็นชุมชน และแหล่งเพาะปลูกทำมาหากิน คนบางส่วนก็ล่าสัตว์ป่านำมารับประทาน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเจอสัตว์พาหะนำโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะไวรัสสายพันธุ์ RNA หรือตระกูลไวรัสโคโรนาที่มักคุกรุ่นในกลไกสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยปกติเป็น “ไวรัสก่อโรคในลำไส้สิ่งมีชีวิต” มักทำลายระบบภูมิคุ้มกันเคลื่อนย้ายไปส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ปอด หลอดลมทำให้สามารถถ่ายเทไวรัสไปสู่สัตว์ชนิดอื่น เช่น สัตว์ฟันแทะ ค้างคาว ที่มักติดเชื้อไม่มีอาการป่วย แล้วยิ่งเมื่อมนุษย์รุกล้ำพื้นที่ป่า “ทำการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์” อันเป็นลักษณะยิ่งใกล้ชิดสัตว์ป่าพาหะนำโรคมากขึ้นจนทำให้สามารถถ่ายเทเชื้อโรคมาสู่ “สัตว์บกเศรษฐกิจ” ไม่ว่าจะเป็นวัว ควาย แพะ แกะ รวมถึงหมู สุนัข เป็ด ไก่

ต้นตอ! โรคอุบัติใหม่ เชื้อร้ายติดจากสัตว์มาสู่คน

ก่อนคืบคลานเข้ามาสู่ “คนติดต่อสู่คน” สุดท้ายกลายเป็นการก่อโรคระบาดรุนแรงขึ้นก็ได้

ยิ่งกว่านั้น “ไวรัสยังจะพัฒนาแพร่เชื้อผ่านทางอากาศหายใจ (Airborne)” โดยไม่จำเป็นต้องรับเชื้อผ่านละอองฝอย ไอจามรดกัน หรือมือสัมผัสพื้นผิวปนเปื้อนเชื้อนำสู่ร่างกายอีกต่อไป เรื่องนี้คือเป้าหมายสำคัญอันเป็นชัยชนะของไวรัสส่งสัญญาณเตือนถึง “ความเก่งกาจ” ที่มนุษย์ต้องเตรียมพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่กันได้แล้วและมีคำถามว่า…“สัตว์ป่าติดเชื้อมาจากแหล่งใด?” เรื่องนี้ตอบได้ยากแต่ตามหลักที่ศึกษาวิจัยเชิงรุกรู้กันมานานกว่า 20 ปี “ไวรัสมักตั้งตัวในสัตว์เกิดการเพาะบ่มและวิวัฒนาการของเชื้อโรคจากสัตว์” แล้วที่ผ่านมาปรากฏชัดว่า ข่าวสัตว์เลี้ยง “มีวิวัฒนาการควบคู่ได้ดีกับสัตว์บางชนิด” โดยเฉพาะสัตว์ป่าก่อนกระโดดข้ามไปสัตว์ชนิดอื่น