มาถูกทาง กินน้อยตายน้อยจากโควิด-19

มาถูกทาง กินน้อยตายน้อยจากโควิด-19

รากฐานซึ่งนำมาถึงหลักการความเชื่อ จนกระทั่งถึงการประพฤติและปฏิบัติของการงดอาหาร เป็นระยะ หรือลดอาหาร

อาหาร จนกระทั่งถึงการกินเข้าใกล้มังสวิรัตินั้น มาจากการที่มีกลไกในการปรับการใช้พลังงานโดยเผาผลาญกลูโคสและไกลโคเจน จนกระทั่งถึงกระบวนการในการสร้างกลูโคส หมด แล้วปรับเปลี่ยนโหมดเป็นการสร้างคีโตน ในขณะที่มีการผลิตคีโตนนั้น จะทำให้มีกรดไขมันซึ่งรวมถึงกรดไลโนลีอิก (linoleic acid) เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ทั้งนี้ กรดไลโนลีอิกนี้เองที่พิสูจน์แล้วในการทดลองรายงานในวารสาร Science ในปี 2020 ว่าจะไปจับกับโปรตีนหนาม สไปค์ของโควิดได้อย่างแน่นหนาและทำให้โควิดนั้นไปจับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์คือ ACE2 ได้ลดลง ความสำคัญของตัวรับนี้คือเป็นตัวควบคุมการปรับเปลี่ยนให้กลไกเบี่ยงเบนเข้าหาระบบของการอักเสบหรือระบบที่ละลาย และต่อต้านการอักเสบ การงดอาหารยังส่งผลป้องกันในระยะยาวจากผลกระทบที่เกิดจากการติดเชื้อ ทั้งนี้ อธิบายจากการที่มีโปรตีน galectin-3 เพิ่มขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับการที่จะผอมลงหรือไม่ก็ตาม โดยเป็นผลจากการศึกษาที่มีชื่อว่า WONDERFUL trial (Water only fasting interventional trial) โดยออกแบบการศึกษาทอดระยะเวลายาวหกเดือนและในแต่ละอาทิตย์จะมีหนึ่งวันที่กินแต่น้ำอย่างเดียวเท่านั้นตัว galectin-3 ที่ว่า ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคในช่วงที่มีการติดเชื้อในระยะเฉียบพลันโดยช่วยในระบบต่อต้านเชื้อโรคที่เป็นปราการด่านแรก innate immune system ทั้งผ่าน PRR และ DAMP และในระยะถัดมาหลังจากที่การติดเชื้อสงบไปแล้ว จะออกฤทธิ์ไปในทางสงบการอักเสบเรื้อรังการอักเสบเรื้อรังในร่างกายที่เป็นผลตามจากการติดเชื้อหรือที่เกิดขึ้นในโรคเมตาบอลิก เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ หัวใจวายจะมีระดับของ galectin-3 สูงขึ้น นอกจากบทบาทในเรื่องของการอักเสบดังกล่าว galectin-3 ยังสามารถจับติดกับเชื้อโรคหลายชนิดส่งสัญญาณไปยังระบบต่อสู้ด่านแรกและกระตุ้นเตือนยีนมนุษย์ให้สร้างโปรตีนที่มีผลสู้กับไวรัสได้โดยตรงรวมทั้งระงับยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ

มาถูกทาง กินน้อยตายน้อยจากโควิด-19

การที่ทำการอดอาหารเป็นระยะเช่น inter mittent fasing ไม่กินอาหารอย่างน้อย 12 ถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน

มีรายงานแล้วว่าสามารถลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และในคนไข้ที่ประพฤติปฏิบัติตัว ข่าวอาหาร ในการลดงดอาหารอย่างต่อเนื่องมากกว่า 42 ปี จะมีชีวิตยืนยาวขึ้น และโอกาสที่จะเสี่ยงต่อหัวใจวายนั้นลดลงอย่างมากโดยที่ไม่ต้องถึงกับผอมก็ได้ ด้วยประโยชน์ดังที่ว่า ทำให้คณะผู้วิจัยทำการศึกษาระยะยาวที่ Salt Lake City, Utah USA ทั้งนี้ ผ่านระบบผู้ลงทะเบียน INSPIRE ในช่วงระยะเวลาของปี 2013 ถึง 2020 โดยขึ้นทะเบียนการวิจัย clinical trials NCT 02450006 และวิเคราะห์คนที่ติดเชื้อโควิดระหว่างเดือนมีนาคม 2020 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เป็น Prospective longi tudinal observational cohort โดยประเมินการเสียชีวิตหรือการที่ต้องเข้าโรงพยาบาล และการติดเชื้อ จำนวนประชากรที่ศึกษา 5,795 ราย อยู่ในระบบลงทะเบียนสวนตรวจเส้นเลือดหัวใจและอยู่ในระบบการติดตาม INSPIRE อย่างครบถ้วน พร้อมทั้งมีข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสุขภาพ ความเสี่ยงของโรคต่างๆรวมทั้งโรคหัวใจและการตรวจเส้นเลือดทั้งหมด ในจำนวนนี้ 1,682 ราย หรือ 29% ได้รับการตรวจโควิดระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2020 และ 25 กุมภาพันธ์ 2021 และ 1,457 ราย ได้ผลลบ และ 225 ราย ได้ผลบวก คือมีการติดโควิด เกณฑ์ของการเข้ากลุ่มอดอาหารเป็นระยะ (periodic fasting หรือ faster) คือต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยห้าปี และกลุ่ม non-faster คือไม่เคยปฏิบัติเลยหรือทำไม่ประจำหรือหยุดทำก่อนที่จะจบการศึกษา ดังนั้น มี 158 คนที่แม้จะมีการทำอดอาหารเป็นระยะมานานกว่าห้าปี แต่หยุดทำไป ไม่ได้นำรวมในการประเมินผลของการลดความเสี่ยงอาการหนักและการตาย กลุ่มคนที่ศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มที่เคร่งศาสนาที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ เพราะตัวแปรเหล่านี้ต้องนำมาควบรวมในการพิจารณา ด้วย พร้อมกับเชื้อชาติ รายได้เศรษฐานะ ระดับการศึกษา สภาพการแต่งงาน สภาพการจ้างงาน ชนิด และความเข้มข้นของการออกกำลังและแน่นอนรวมข้อมูลต้นทุนทางด้านสุขภาพทั้งหมดด้วย กลุ่ม faster เป็น 35.6% ของกลุ่มศึกษาทั้งหมด (73 ในจำนวน 205 ราย) โดยได้ปฏิบัติสม่ำเสมอเป็นประจำเป็นอย่างน้อย 40.4+/- 20.6 ปี โดยยาวนานมากที่สุดคือ 81.9 ปี ตัวแปรทั้งหมด (co-variables) ได้นำมาพิจารณาโดยละเอียด อายุโดยเฉลี่ยของ กลุ่มอดและไม่อดคือ 63.1+/-14.8 และ 63.7+/-15.3 ปี และเป็นผู้หญิงในจำนวนใกล้เคียงกันประมาณ 35 ถึง 40% ความอ้วนผอมดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน คือ 30.4+/-8.2 และ 31.5+/-7.7 กลุ่มอด ไม่ดื่มเหล้า 89% เทียบกับ 61.4% ในกลุ่มไม่อด ทั้งสองกลุ่มมีความดันสูง ไขมันสูง เบาหวาน ใกล้เคียงกัน รวมทั้งตัวแปรสุขภาพอื่นๆทางหัวใจ เส้นเลือดอัมพฤกษ์ หัวใจวาย หัวใจเต้นระริก ภาวะสมองเสื่อม สุขภาพจิต โรคตับไต และทั้งสองกลุ่มพบว่า ในกลุ่มอดจะมีประวัติการสวนหัวใจใส่ขดลวดและเปลี่ยนเส้นเลือดหัวใจน้อยกว่าแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติผลของการติดตามพบว่า ในจำนวน 205 รายที่ติดเชื้อโควิดกลุ่ม faster เข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 11%

แนะนำข่าวอาหารอ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : 5 อาหารที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่า ช่วยให้ “ความจำ” ดีขึ้น