โรคลมชักในเด็กกับการรักษาด้วย ‘กัญชา’

โรคลมชักในเด็กกับการรักษาด้วย กัญชา

อธิบดีกรมการแพทย์เผยผลสำรวจผู้ป่วยโรคลมชักรักษายาก ทดลองใช้สารสกัดกัญชาซีบีดีสูงเป็นระยะเวลา 12 เดือน จำนวน 14 ราย พบว่า มีอาการชักรุนแรงลดลง 7 ราย สอดคล้องกับผลการวิจัยในต่างประเทศ สารสกัดกัญชาซีบีดี สามารถรักษาผู้ป่วยโรคลมชักชนิดรุนแรงในเด็กให้ลดลงได้ แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงมากเช่นกัน

สุขภาพ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การใช้สารสกัดกัญชาในการรักษาโรคลมชักมีมานาน ในบางประเทศอนุญาตให้ใช้เป็นยาได้ แต่ในหลายประเทศยังเป็นสิ่งผิดกฎหมาย การศึกษาระยะแรกไม่มีการควบคุมขนาดของยาที่ชัดเจนพบว่าได้ผลในผู้ป่วยโรคลมชักบางราย ในปี พ.ศ. 2560 ในต่างประเทศได้ทำการศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบสารสกัดกัญชาซีบีดีกับยาหลอกพบว่าสารสกัดกัญชาซีบีดีสามารถรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่รุนแรงรักษายากในเด็กโดยลดชักชนิดรุนแรง แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงมากเช่นกันส่วนประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 มีการประกาศใช้กฎหมายให้สามารถนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ภายใต้รูปแบบพิเศษในการเข้าถึงยา โดยสถาบันประสาทวิทยาและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ได้ทำการศึกษาวิจัยติดตามผู้ป่วยโรคลมชักรักษายากในเด็กที่ได้สารสกัดกัญชาซีบีดีสูง ร่วมกับยากันชักหลายชนิด เป็นระยะเวลา 12 เดือน จำนวน 14 ราย พบว่าจำนวนผู้ป่วยมีอาการชักรุนแรงลดลง 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 พบผลข้างเคียงทุกราย ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและมักเกิดในช่วง 3 เดือนแรก โดยเฉพาะเมื่อได้รับสารสกัดกัญชาในขนาดสูง ซึ่งพบผู้ป่วย 4 ราย ที่ต้องหยุดยาเนื่องจากชักมากขึ้น จึงสรุปได้ว่าสารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงมีประสิทธิผลในการรักษาโรคลมชักรักษายาก ในเด็กไทยพบผลข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่รุนแรง โดยเริ่มยาขนาดต่ำและเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่รุนแรงในช่วง 3 เดือนแรก

โรคลมชักในเด็กกับการรักษาด้วย กัญชา

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเห็นความสำคัญของการใช้สารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงในการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็ก

จากผลการศึกษาครั้งแรกในประเทศไทย โดย 2 สถาบันของกรมการแพทย์ พบว่ามีประสิทธิผล ลดชักได้ ทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวที่ต้องดูแลอาการชักที่รุนแรงตลอดเวลา และเป็นการสนับสนุนการใช้ยาที่พัฒนาจากสมุนไพรที่ผลิตในประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศไทยในการนำเข้ายาจากต่างประเทศ กรมการแพทย์จึงได้เสนอสารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูง ในการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็ก เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร และได้รับอนุมัติบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร บัญชี 3 สามารถเบิกจ่ายในสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยกลุ่มนี้ และดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทยผู้ป่วยโรคลมชักรักษายากในเด็กอยู่ในความดูแลของกุมารแพทย์ประสาทวิทยา กรมการแพทย์ จึงได้ร่วมกับสมาคมกุมารประสาทวิทยา (ประเทศไทย) ข่าวสุขภาพ จัดทำโครงการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักรักษายาก ในเด็กที่ใช้สารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงทั่วประเทศ เพื่อให้การใช้สารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงที่ผลิตในประเทศมีความปลอดภัย มีประสิทธิผลเชื่อถือได้ และนำไปสู่การเสนอเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร บัญชี 1 ในปี พ.ศ. 2567 ต่อไป

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : “อนุทิน”ร่วมพิธีแสดงสัตยาบันเข้าร่วม IVI ส่งผู้เชี่ยวชาญเรียนรู้วัคซีน