
แม้ว่ารัฐประหารในเมียนมาจะผ่านมาแล้วกว่าหนึ่งปี แรงกดดันจากนานาชาติที่มีต่อการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนยังมีอย่างต่อเนื่อง
ทันโลกข่าวต่างประเทศ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาตินอร์เวย์ได้ประกาศถอนการลงทุนจาก บมจ. ปตท. หรือ PTT และ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR ฐานเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่รัฐบาล-กองทัพเมียนมา เป็นเจ้าของ ผู้บริหารกองทุนสัญชาตินอร์เวย์ ที่มีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 45 ล้านล้านบาท) ให้เหตุผลว่า มติดังกล่าวของคณะกรรมการบริหารกองทุนเห็นว่า เป็นความเสี่ยงที่ไม่อาจยอมรับได้ (unacceptable risk) เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยนอกจากสองบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยแล้ว ยังมีบริษัทในอิสราเอลอีกหนึ่งแห่งด้วย ที่กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาตินอร์เวย์ ถอนการลงทุน การตัดสินดังกล่าวมีผลมาจากการออกคำแนะนำโดยคณะกรรมการจริยธรรมเมื่อวันที่ 10 พ.ค. และต่อมาธนาคารกลางแห่งชาตินอร์เวย์ (Norge Bank) จึงมีประกาศเรื่องนี้ในวันที่ 15 ธ.ค. ปตท. สผ. แจงขึ้นเป็นผู้ดำเนินการ + ได้หุ้นเพิ่มในแหล่งก๊าซยาดานาหลังโททาลถอนตัว มาตรการคว่ำบาตรจะจัดการกับกองทัพเมียนมาได้แค่ไหน 1 ปีผ่านกับงานการทูตที่ไทยเลือกแสดงคณะกรรมการด้านจริยธรรมของกองทุนนี้ยังอธิบายว่า บริษัทสัญชาติไทยทั้งสองเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่มีรัฐบาลและกองทัพเมียนมาเป็นเจ้าของ และกิจการต่าง ๆ ก็มีไว้เพื่อสนับสนุนกองทัพเมียนมาทางการเงินในปฏิบัติการทางทหารและการใช้อำนาจในทางมิชอบ “นี่เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ เมื่อบริษัทเหล่านั้นมีส่วนช่วยในการละเมิดขั้นร้ายแรงต่อสิทธิมนุษยชน ท่ามกลางสถานการณ์สงครามหรือความขัดแย้ง” นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2564 เป็นต้นมา เมียนมาต้องเผชิญกับเหตุความวุ่นวายทางการเมืองหลังจากกองทัพเมียนมาได้ก่อรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และใช้กำลังปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมืองและการขึ้นสู่อำนาจของทหาร สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ได้ติดต่อไปยังบริษัท PTT และ OR แล้วแต่ยังไม่ได้รับความเห็นใด ๆ ต่อประเด็นนี้ ขณะที่โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมาไม่รับสายผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์ หลังข่าวดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ไม่นาน บล. ยูโอบี เคย์เฮียน ได้อธิบายถึงความเกี่ยวโยงระหว่างกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาตินอร์เวย์ และบริษัทด้านพลังงานและค้าปลีกของไทยว่า
1) กองทุนของธนาคารกลางนอร์เวย์ (Norges Bank) ถือหุ้นใน OR ราว 0.23% (ประมาณ 28 ล้านหุ้น)
2) สาเหตุน่าจะเกิดจากการลงทุนของ OR ในเมียนมา 2 รายการ ได้แก่ กิจการร่วมทุน ข่าวทันโลกข่าวต่างประเทศ กับ Bright Energy ( ซึ่ง OR ถือหุ้น 35%) ในการทำธุรกิจค้าส่งและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างก่อสร้างและได้หยุดไปตั้งแต่รัฐประหารในเมียนมา และ กิจการร่วมทุนอีกตัวทำธุรกิจค้าปลีก (ซึ่ง OR ถือ 51%) ซึ่งหยุดดำเนินการตั้งแต่รัฐประหารเช่นกันนอกจากนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ยังรายงานเพิ่มเติมว่า ยังมีธุรกิจในเครือของ ปตท. คือ ปตท. สำรวจและผลิตปิโตเลียม ที่ได้ประกาศเมื่อเดือน มี.ค. ว่าได้แจ้งเปลี่ยนผู้ดำเนินโครงการยาดานา ในเมียนมา หลัง บริษัท โททาลเอนเนอร์ยี่ส์ อีพี เมียนมา ของฝรั่งเศสถอนตัวไปอย่างไรก็ตาม บล.กสิกรไทย คาดว่า ข่าวดังกล่าวจะเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาหุ้นในระยะสั้น ขณะที่ต้องตามต่อว่าจะมีกองทุนต่างประเทศกองอื่นๆ ตัดสินใจแบบเดียวกันหรือไม่ เนื่องจากทาง OR ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีการจ่ายเงินให้กับบริษัทที่เข้าร่วมลงทุนหลังจากบริษัทดังกล่าวติดอยู่ในรายชื่อประเทศที่ถูกคว่ำบาตรของประเทศตะวันตกผลกระทบระยะสั้นที่เกิดขึ้นต่อหุ้นของบริษัททั้งสองในตลาดหลักทรัพย์ยังคงปรากฏนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมาเมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธ.ค. ราคาหุ้นของ OR ปรับตัวลดลง 2.90% หรือ 0.70 บาท มาอยู่ที่ราคา 23.40 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1,451 ล้านบาท และทำราคาต่ำสุดของวันนี้ที่ 23.20 บาท ถือว่าต่ำสุดในรอบ 1 ปี 10 เดือนส่วน PTT ก็ปรับตัวลดลง 1.59% หรือ 0.50 บาท อยู่ที่ราคา 31 บาท ถือว่าต่ำสุดในรอบ 2 ปี ด้วย ส่วนมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 1,481 ล้านบาท และราคายังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีที่ 37.64 บาทขณะที่ในช่วงเข้าวันนี้ (19 ธ.ค.) ราคาหุ้น OR ยังปรับตัวลดลงอีก 0.43% หรือ 0.10 บาท อยู่ที่ราคา 23.40 บาท มูลค่าการซื้อขาย 274 ล้านบาท
แนะนำข่าวทันโลกข่าวต่างประเทศ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ฮือฮา ชายจมูกยาวที่สุดในโลก ตายไป 300 ปี จู่ๆไวรัลเพราะหุ่นขี้ผึ้ง คนแห่ขุดประวัติ